วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มารู้จัก illslick แร็พเปอร์ที่กำลังฮอตสุด ๆ ในตอนนี้

มารู้จัก illslick แร็พเปอร์ที่กำลังฮอตสุด ๆ ในตอนนี้

illslick


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก illslick


               "ให้บอกว่ารักเท่าจักรวาลมันก็ยังไม่พอ
                   ก็อยากได้ยินเธอพูดซ้ำ like I never heard that before
                    ก็อยากได้ยินมันทุกวัน อยากได้ยิน เพียงเธอบอกรักฉัน"

                นั่นแน่! แค่เห็นเนื้อร้องบอกรักหวาน ๆ ข้างต้น หลายคนคงจะเดาออกใช่ไหมคะ ว่าเพลงนี้เป็นเพลงอะไร ... เชื่อเลยค่ะว่า คอเพลงหลายคนกำลังตกหลุมรัก ดนตรีนุ่ม ๆ เนื้อร้องน่ารักโรแมนติก อย่างเพลง "รักเมียที่สุดในโลก" ของวง illslick (อิลสลิก) อย่างแน่นอน  เพราะนอกจากดนตรีฟังลื่นหูแล้ว เสียงร้องของนักร้องนำยังไพเราะฟังสบายอีกด้วย  จน เพลงนี้กลายเป็นเพลงสุดฮอตที่ท็อปฮิตติดชาร์ตหลากหลายคลื่นเพลงเลยทีเดียว  แถมวงนี้ยังมีอีกเพลงเพราะ ๆ อีกหลายเพลง ที่กำลังจะต่อคิวทะยานขึ้นชาร์ตตาม ๆ กันไปติด ๆ

              ... เอ้า! ส่วนใครที่เป็นแฟน ๆ เพลงของ illslick และอยากจะรู้ว่า วงนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร แล้วเป็นใครมาจากไหนกันบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ


illslick


illslick

              สำหรับชื่อของ illslick ไม่ใช่ชื่อของวงดนตรีแต่อย่างใด เป็นเพียงชื่อ AKA หรือ ฉายาแร็พเปอร์ ของหนุ่มคนหนึ่งที่รักในเสียงดนตรีนามว่า "โต้ง" หรือที่ใคร ๆ เรียกเขาว่า "อิล" ตามชื่อแรกของฉายาเขาเท่านั้น! หรือจะเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เหมือนนามปากกาของแร็พเปอร์นั่นเอง โดยโต้งได้แต่งเนื้อเอง เรียบเรียงเอง ร้องเอง มิกซ์เอง คนเดียวทุกขั้นตอน!! 

            และสำหรับเพลงของแร็พเปอร์ illslick  หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมเขาถึงเป็นแร็พเปอร์ทั้งที่เพลงออกจะฟังนุ่มลื่นสบายหูขนาดนี้ นั่นก็เป็นเพราะว่า เพลงดังกล่าวเป็นแร็พแนว Slow jam ส่วนจุดเด่นของเพลงแนวนี้ ก็มักจะเป็นเพลงที่มีเมโลดี้สวยงาม มีเนื้อร้องน่ารัก ผสานไปกับเสียงร้องนิ่ม ๆ ในจังหวะรัว ๆ ซึ่งยังคงความเป็นแร็พเปอร์ไว้

            ส่วนบทเพลงของ illslick ที่เพิ่งจะมาติดหูคอเพลงเมื่อไม่นานมานี้ จริง ๆ แล้ว illslick ไม่ใช่มือใหม่ในวงการฮิปฮอป หรือแร็พเปอร์เมืองไทยเลย เพราะ illslick สนใจและเริ่มทำเพลงมาตั้งแต่อายุ 17 ปี เป็นศิลปินที่รู้จักกันดีในแวดวงเพลงใต้ดิน จนกระทั่งเมื่อปลายปีที่ แล้ว (พ.ศ. 2554) เพลงของ illslick ก็กลายเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จากการบอกปากต่อปาก และแชร์คลิปเพลงผ่านเฟซบุ๊ก (ตอนนี้มีผู้เข้าชมกว่า 6 ล้านคน) ซึ่งก็ทำให้ illslick กลายเป็นชื่อที่หลาย ๆ คนค้นหา เพื่อจะฟังเพลงที่เขาแต่ง และแน่นอนเพลงที่เขาแต่งไว้มีเยอะมากเลยทีเดียว หลังจากนั้นบทเพลงของ illslick ก็ถูกอัพโหลดและแชร์กันไปเรื่อย ๆ จนชื่อเสียงของ illslick กลายเป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลกแล้ว ฟังไม่ผิดหรอกค่ะ! แร็พเปอร์เมืองนอกหลายต่อหลายประเทศ ก็ชื่นชอบในผลงานของ  illslick กันอย่างมากมายเลยทีเดียวล่ะ



illslick

          สำหรับเส้นทางการเป็นนักร้องแร็พเปอร์ของเขาไม่ได้สวยหรูเท่าไรนัก ที่โด่งดังได้นั้นเป็นฝีมือล้วน ๆ ไม่มีค่ายเพลง ไม่มีคนคอยสนับสนุน โดยแรกเริ่มเดิมที โต้งต้องทำงานช่วยแม่ตั้งแต่เด็ก ๆ ที่ต่างจังหวัด ซึ่งตอนนั้นไม่มีเพลงอะไรฟังมีแต่ซาวน์อะเบ้าท์เครื่องเดียวที่บันทึกทำนอง เพลงช้า ๆ เอาไว้ ด้วยความที่ชอบในเสียงเพลงก็เคยได้ยินเพลงแร็พแล้วก็ชื่นชอบมาก เลยพยายามใส่เนื้อร้องเข้าไปในทำนองนั้น พยายามร้องทุกวัน หาเนื้อร้องใส่จังหวะให้มันเข้ากัน และสุดท้ายเขาก็ทำได้ ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมา เขาก็พยายามฝึกร้องเพลง และหลงรักในแนวเพลงนี้เรื่อยมา จนได้ทำเพลงด้วยตนเองเอาไปแชร์ให้เพื่อน ๆ ในเว็บไชต์เพลงใต้ดินฟัง จากนั้นเขาก็ได้ตั้งชื่อเขาว่า illslick ในที่สุด

          จากการสั่งสมประสบการณ์มาเรื่อย ๆ เขาก็เกิดไอเดียใหม่ ๆ โดยเขาคิดว่าในเมืองเพลงฝรั่งร้องแร็พได้มันส์ ร้องแร็พได้นุ่ม เขาก็พยายามเอาเนื้อร้องภาษาไทยใส่เขาไป เพราะเขาถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย และอยากลองมาก เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์เยอะ มีเสียงสูงเสียงต่ำ ต่างจากภาษาฝรั่งที่ร้องแร็พลื่นกว่ามาก นอกจากนี้เขายังอยากจะทำให้คนหลาย ๆ คนหันมาชอบเพลงฮิปฮอปกันมากขึ้น อยากให้วงการเพลงเปิดกว้างและยอมรับกับแนวเพลงเช่นนี้

         หลังจากที่ทราบเรื่องราวของเขาแล้ว สรุปได้ว่าวงการเพลงไทยบ้านเรา illslick ถือว่าเป็นคนที่มีฝีมือคนหนึ่ง ถ้าใครยังไม่ได้ลองฟัง เพลงของ illslick ก็ลองคลิกเข้าไปฟังกันได้นะคะ ของบอกว่า แต่ละเพลงเพราะ ๆ ทั้งนั้น รับรองว่าฟังแล้วจะติดใจ
ประวัติ clash


แคลช (อังกฤษ: Clash) วงดนตรีไทยจากค่ายอัพ จี รวมตัวกันครั้งแรก ในชื่อวง "LUCIFER" เพื่อเข้าประกวด Hot Wave Music Awards ครั้งที่ 2 และ 3 ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมที่โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว และคว้ารางวัลจากการประกวดรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการประกวด Hot Wave Music Awards ครั้งที่ 3[1]วงแคลชมีผลงานเพลงอัลบั้มเต็มทั้งหมด 6 อัลบั้ม และอัลบั้มพิเศษอีกมากมาย แบ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงฮิต 2 อัลบั้ม อัลบั้มเพลงเรียบเรียงดนตรีใหม่ 3 อัลบั้ม โปรเจกต์พิเศษ 2 โปรเจกต์ อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว เพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณา และซิงเกิลพิเศษอีกหลายเพลง และผลงานพ็อคเก็ตบุ๊คเล่มแรกที่วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2551 และร่วมลงขันกับเพื่อน ๆ วงไทยเทเนี่ยมเปิดร้านอาหารที่ชื่อ แคลงก์ (Clank) ในกรุงเทพฯอีกด้วย[2]
วงแคลชได้รับรางวัลมากมายจากคลื่นวิทยุซี้ด 97.5 เอฟเอ็ม ประจำปี พ.ศ. 2549 ถึง 2 สาขา ได้แก่ สาขาอัลบั้มร็อคยอดเยี่ยม ได้แก่ อัลบั้ม Emotion และสาขามิวสิควิดีโอยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลงไฟรัก[3] และรางวัลสีสัน อวอร์ดส 3 ครั้ง ครั้งละ 1 สาขา ได้แก่สาขาเพลงร็อคยอดเยี่ยมประจำปี พ.ศ. 2544[4] พ.ศ. 2547[5] และพ.ศ. 2548[6] จากเพลง Love Scene เมืองคนเหล็ก 2004 และ Emotion ตามลำดับ และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ แบงค์ วงแคลช ยังเคยมีส่วนร่วมในการแต่งเพลงให้ศิลปินดูโอชื่อดังอย่าง กอล์ฟ-ไมค์ ในเพลง "ไม่ตามใคร"[7] และ "เต้นกันไหม"[8] และหนุ่มแบงค์ได้แต่งเพลง "ปีใหม่ใหม่" ให้กับโรส ศิรินทิพย์ ร้องในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 อีกด้วย[9]

นอกจากผลงานเพลงแล้ว วงแคลชยังได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พรีเซนเตอร์โฆษณารถมอเตอร์ไซค์ โครงการรณรงค์ไนกี้ และแบงค์ นักร้องนำของวงยังได้รับยกย่องให้เป็นลูกยอดกตัญญูในงานวันแม่แห่งชาติเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 อีกด้วย


สมาชิก

วงแคลชมีสมาชิกทั้งหมด 5 คน โดยมีตำแหน่งร้องนำ 1 คน กีต้าร์ 2 คน เบส 1 คน และกลองอีก 1 คน ดังนี้
ปรีติ บารมีอนันต์ (แบงค์) ร้องนำ (เกิด 20 ตุลาคม พ.ศ. 2525)
คชภัค ผลธนโชติ (พล) กีตาร์ (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2524) ชื่อเดิมคือ ธนะพล ฤกษ์สมผุส
ฐาปนา ณ บางช้าง (แฮ็คส์) กีตาร์ (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2524)
สุกฤษณ์ ศรีเปารยะ (สุ่ม) เบส (เกิด 21 มกราคม พ.ศ. 2525)
อนันต์ ดาบเพ็ชรธิกรณ์ (ยักษ์) กลองชุด (เกิด 24 มกราคม พ.ศ. 2525)


ประวัติ

วง แคลชก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 ในชื่อวงว่า ลูซิเฟอร์ (Lucifer) โดยตอนนั้นยังมีแนวเพลงเป็นร็อคญี่ปุ่น รวมกลุ่มกันเพื่อประกวดดนตรีในรายการ Hot Wave Music Awards ครั้งที่ 2 และ 3 โดยเพลงที่ใช้ประกวดคือเพลง "อย่าทำอย่างนั้น" ของ แมว จิระศักดิ์ ปานพุ่ม[10] หลังจากได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวด Hot Wave Music Awards ครั้งที่ 3[1] ในปี พ.ศ. 2544 พวกเขาได้เซ็นสัญญากับอัพจี เรคคอร์ด ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และได้เปลี่ยนชื่อของพวกเขาใหม่เป็น แคลช (Clash) และได้ออกผลงานอัลบั้มแรกชื่อว่า วัน (One) โดยเพลงแรกคือเพลง กอด ได้รับความนิยมและนำพาพวกเขาไปสู่ความสำเร็จทั้งๆที่ยังเป็นวัยรุ่นอยู่ นอกจากนี้เพลงในอัลบั้มนี้ที่ชื่อว่า เลิฟซีน (Love Scene) ยัง เป็นเพลงที่สามารถคว้ารางวัลจาก "สีสัน อวอร์ดส ครั้งที่ 14" สาขาเพลงร็อคยอดเยี่ยม เมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้อีกด้วย[1]

ต่อมาใน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 พวกเขากลับมาอีกครั้งกับผลงานอัลบั้มชุดที่ 2 ซาวนด์เชค (Soundshake) ในอัลบั้มนี้มีเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างเพลงขอเช็ดน้ำตา หนาว และเธอจะอยู่กับฉันตลอดไป นอกจากนี้ในปีเดียวกัน แบงค์ นักร้องนำได้ทำผลงานเพลงพิเศษประกอบภาพยนตร์บิวตี้ฟูล บ็อกเซอร์ ในชื่อเพลง หนึ่งมิตรชิดใกล้ เดือนมิถุนายนปีเดียวกันนั้น วงแคลชได้ทำอัลบั้มพิเศษ เป็นอัลบั้มเรียบเรียงดนตรีจากเพลงเก่าในอัลบั้ม วัน (One) และซาวนด์เชค (Soundshake) เช่นเพลง กอด รับได้ทุกอย่าง ขอเช็ดน้ำตา หนาว เป็นต้น มาทำเป็นดนตรีอคูสติกสบายหู และมีเพลงใหม่คือเพลง เธอคือนางฟ้าในใจ ในชื่ออัลบั้ม ซาวนด์ครีม (Soundcream) และในปีเดียวกันอีกวงแคลชและวงดนตรีร็อกในเครือเดียวกันอีก 6 กลุ่มได้ทำโปรเจกต์พิเศษ ลิตเติลร็อก โปรเจกต์ (Little Rock Project) โดยอัลบั้มนี้มี 2 แผ่น วางแผงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นการนำเพลงของวงไมโครมาเรียบเรียงดนตรีใหม่และร้องใหม่ตามรูปแบบของแต่ละ วง วงแคลชได้ร้องเพลงเปิดตัวโปรเจกต์ ด้วยเพลง เอาไปเลย ซึ่งได้ร้องคู่กับวงกะลา โดยเพลงที่วงแคลชนำมาร้องคือเพลง ตอก ไว้ใจ แผลในใจ และ หยุดมันเอาไว้ และอีกเพลงหนึ่งซึ่งร้องร่วมกันทั้ง 7 วงคือเพลง ลองบ้างไหม


ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 พวกเขาได้ออกผลงานอัลบั้มที่ 3 เบรนสตอร์ม (Brainstorm) ที่แฟนคลับประทับใจและได้รับการวิจารณ์ในทางที่ดี ในปีเดียวกันนี้ แบงค์ ได้มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตเรื่อง พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว แสดงร่วมกับหนุ่ม วงกะลา และยังได้ออกอัลบั้มประกอบภาพยนตร์ร่วมกับวงกะลาอีกด้วย ในปลายปี พ.ศ. 2547 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ต้องการส่งท้ายปีด้วยการทำอัลบั้มโปรเจกต์พิเศษฉลองครบรอบ 20 ปี มีชื่อว่า PACK4 เพลงดังในอดีตของศิลปินดัง อย่างเช่น โลโซ ซิลลี่ฟูลส์ และอัสนี-วสันต์ จะนำมาทำใหม่โดยวงร็อก 4 วง ซึ่งรวมถึงแคลชด้วย โดยวงแคลชได้นำเพลงของ โจ-ก้อง วายน็อตเซเว่น และแมว จิระศักดิ์ ปานพุ่ม มาทำใหม่

เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 วงแคลชได้ร่วมคอนเสิร์ต Pack 4 Freedom Romantic Rock กับกลุ่มศิลปินในโปรเจกต์เดียวกันคือ กะลา โปเตโต้ และเอบีนอร์มอล ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พวกเขาก็ได้ปล่อยอัลบั้มเพลงชุดที่ 4 อีโมชัน (Emotion) โดยมีเพลงที่ได้รับความนิยมคือ ละครรักแท้ ซบที่อกฉัน เพลงผีเสื้อ และ ไฟรัก

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 พวกเขาได้ออกอัลบั้มเพลงอคูสติก อาร์แอนด์บี และฮิพฮอพ โดยนำเพลงในอัลบั้ม เบรนสตอร์ม (Brainstorm) และ อีโมชัน (Emotion) เช่นเพลง เขาชื่ออะไร ละครรักแท้ เพลงผีเสื้อ ซบที่อกฉัน ไออุ่นรัก เป็นต้น มาเรียบเรียงดนตรีใหม่ และมีเพลงใหม่คือ นางฟ้าคนเดิม ซึ่งต่อมายังถูกนำไปเป็นเพลงประกอบละครเรื่อง สะดุดรัก ทางช่อง 3 อีกด้วย และในเดือนเดียวกันนั้น เขาได้มีคอนเสิร์ตใหญ่เป็นของตัวเอง ซึ่งจัดโดยคลื่น Seed 97.5 FM ใน ซีด ไลฟ์ คอนเสิร์ต เฟิร์ส แคลช (Seed Live Concert First Clash) [11]

ในวันที่ 26 เดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ก็มีข่าวช็อคแฟนเพลงวงแคลช เมื่อยักษ์ มือกลองได้ประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์พลิกคว่ำ ระหว่างไปเล่นคอนเสิร์ตที่จังหวัดสมุทรปราการ[12][13] ส่งผลให้ยักษ์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องเข้ารับการรักษากายภาพบำบัดเป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน วงแคลชก็ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 แครชชิง (Crashing) โดยชุดนี้มีเพลงที่ได้รับความนิยมเช่นเพลง ค้างคา มือที่ไร้ไออุ่น รอ ขอเจ็บแทน วังวน และยิ้มเข้าไว้ โดยแม้ในชุดนี้ ยักษ์ มือกลอง จะอาการดีขึ้นแต่ยังไม่หายจากอุบัติเหตุรถคว่ำ แต่ก็มีคนอื่นมาช่วยเล่นกลองให้กับเพลงอัลบั้มนี้

แบงค์ กับ ชิน ใน Clash Army Rock Concert

ใน วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ก็มีข่าวร้ายเกี่ยวกับแม่ของแบงค์ นักร้องนำ ที่ต้องมาเสียชีวิตด้วยโรคเลือด หรือโรคโครโมโซมในกระดูกสันหลังผิดพลาด[14] หรือโรค MDS (Myelodysplastic Syndrome)[15] ทำให้เขาต้องบวชให้แม่ ต่อมาหลังจากข่าวนี้ เขาได้มาออกรายการ บางกอกรามา ทางช่อง TITV ถึงข่าวร้ายที่เกิดขึ้นกับเขา เมื่องานศพแม่ของเขาเสร็จสิ้นลง เขาก็ทำงานต่อไป โดยในเดือนกรกฎาคม ปีนั้น พวกเขาได้มีคอนเสิร์ตใหญ่เป็นของตัวเองครั้งที่ 2 ในชื่อว่า แคลช อาร์มี่ ร็อก คอนเสิร์ต (Clash Army Rock Concert) [16]โดยในคอนเสิร์ตครั้งนี้ได้มีการแสดงละคร โดยมีโอซา แวง นางเอกมิวสิกวิดีโอ 3 เพลงในอัลบั้มแครชชิง (Crashing) และแน๊ป นักร้องนำวงเรทโทรสเปค มาร่วมแสดงด้วย และยังมีเบน ซิลลี่ฟูลส์ มาร่วมร้องในเพลง จิ๊จ๊ะ และฟลายอิง (Flying) และชิน ชินวุฒิ อินทรคูสิน มาร่วมร้องเพลง โรคประจำตัว อีกด้วย นอกจากนี้ วงแคลชยังได้มีเพลงใหม่ 2 เพลงที่แต่งขึ้นเพื่อคอนเสิร์ตครั้งนี้โดยเฉพาะคือเพลง ซากคน และสักวันฉันจะไปหาเธอ

ในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น วงแคลชได้ประชาสัมพันธ์ถึงอัลบั้มพิเศษ และกิจกรรมพิเศษที่ให้โอกาสแฟนเพลงมาร่วมแสดงมิวสิกวิดีโอเพลงในอัลบั้ม พิเศษ และภาพของแฟนเพลงยังได้ลงไว้ในปกอัลบั้มนี้ด้วย โดยอัลบั้มพิเศษนี้มีชื่อว่า แฟน (FAN) วางแผงในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 มิวสิกวิดีโอเพลงที่แฟนเพลงร่วมกันแสดงมีชื่อว่า เกินคำว่ารัก ซึ่งเป็นเพลงใหม่ในอัลบั้มนี้ ส่วนเพลงอื่นในอัลบั้มอีก 7 เพลงเป็นเพลงเก่าตั้งแต่อัลบั้ม วัน (One) และนำมาเรียบเรียงดนตรีใหม่เป็นดนตรีออเคสตร้า เช่นเพลง เธอคือนางฟ้าในใจ ไฟรัก หนาว วังวน เป็นต้น และอีก 2 เพลงคือเพลง ซากคน และสักวันฉันจะไปหาเธอ ที่แต่งไว้สำหรับคอนเสิร์ต แคลช อาร์มี่ ร็อก คอนเสิร์ต (Clash Army Rock Concert) ได้ถูกรวมไว้ในอัลบั้มนี้อีกด้วย

หน้าร้านอาหาร Clank

ล่า สุดในปี พ.ศ. 2551 นี้ วงแคลชได้ซุ่มทำเพลงอัลบั้มชุดที่ 6 ถึงที่ประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากพวกเขารู้จักและสนิทสนมกับโปรดิวเซอร์ที่เคยทำงานร่วมกันที่ชื่อ แดเนียล เลฟเฟลอร์ (Daniel Leffler)[17] ต้องการเสียงดนตรีที่แปลกใหม่ และที่นั่นมีค่าใช้จ่ายน้อย แต่มีคุณภาพดี แต่ก็ประสบปัญหากันในเรื่องเกี่ยวกับเสียงดนตรี เนื่องจากความเห็นไม่ลงรอยกัน แต่ในที่สุดก็ได้ผลงานอัลบั้มนี้ออกมา และได้ประกาศชื่ออัลบั้มชุดนี้ ว่า ร็อก ออฟ เอจเจส (Rock of Ages) [18] โดยได้ถ่ายทำคลิปวิดีโอเบื้องหลังการทำงานอัลบั้มนี้จำนวน 5 คลิป คลิปละประมาณ 5 นาที นำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ gmember.com และได้ปล่อยผลงานเพลงแรกในอัลบั้มนี้ทางคลื่นฮอตเวฟ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน เพลงนี้มีชื่อว่า รักเองช้ำเอง โดยเสียงดนตรีในอัลบั้มนี้จะมีความเป็นสากลมากขึ้น มีความเข้มข้นมากขึ้น โดยในวันที่ 29 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่วางแผง ได้มีการจัดคอนเสิร์ตเปิดตัวอัลบั้มนี้ ที่อาคารแกรมมี่เพลส ชั้น 21 ซึ่งวงแคลชได้กล่าวถึงเรื่องราวขำขันปนจริงจังกับการใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศ ออสเตรเลีย และกล่าวถึงมิวสิควิดีโอเพลงในอัลบั้มนี้ที่จะปล่อย 4 เพลงออกมาเป็นรูปแบบของซีรีส์แบบเดียวกับอัลบั้มก่อนหน้านี้ ซึ่งได้แก่เพลง รักเองช้ำเอง ถอนตัว ปฏิเสธรัก และความทรงจำครั้งสุดท้าย (The Last Memorial)[19]

นอกจากผลงานเพลงแล้ววงแคลชยังร่วมมือกันเปิดร้านอาหาร ที่มีชื่อว่า แคลงก์ (Clank) ที่บริเวณถนนศรีนครินทร์ หลังห้างซีคอนสแควร์[2] ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมกับขันเงิน และเดย์ ศิลปินจากวงไทยเทเนี่ยม[20] และได้แถลงข่าวเปิดตัวผลงานพ็อคเก็ตบุ๊คเล่มแรกของวงแคลชชื่อ ดาร์ครูมสตูดิโอ (Dark Room Studio) ที่จะกล่าวถึงแง่มุมต่าง ๆ ของสมาชิกแต่ละคน[21]ี้